รายวิชาที่มีอยู่

ส32203 ป้องกันทุจริต 3
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

"รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันทุจริต "

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1

ส๒๓๒๐๔ ป้องกันทุจริต ๖
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

"รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันทุจริต "

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567

ป้องกันทุจริต4
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ประกอบด้วย  กลยุทธ์ที่ ๑ ปรับฐานความคิดทุกช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยเป็นต้นไปให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต กลยุทธ์ที่ ๓ ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต  และกลยุทธ์ที่ ๔ เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต จากกลยุทธ์ที่ ๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการให้การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขึ้น เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล กำหนดแนวทางและขอบเขตในการจัดทำหลักสูตร ยกร่างและจัดทำเนื้อหาหลักสูตรหรือชุดการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติม กำหนดแผนหรือแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นๆ

ส31202 ป้องกันทุจริต1
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

รายวิชา ส31202 ป้องกันทุจริต 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

ประกอบด้วย
       1. การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
       2. ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
       3. STRONG :จิตพอเพียงต้านทุจริต
       4. พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

ส๒๓๒๐๒ ป้องกันทุจริต ๕
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

         ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความ

ไม่ทนต่อการทุจริต STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองและรับผิดชอบต่อสังคมในการ

ต่อต้านการทุจริต

         โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ จําแนก แยกแยะ การฝึกปฏิบัติจริง การทําโครงงานกระบวนการ

เรียนรู้5 ขั้นตอน (5 STEPs) การอภิปราย การสืบสอบ การแก้ปัญหา ทักษะการอ่านและการเขียน เพื่อให้มี

ความตระหนักและเห็นความสําคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต

วิชาป้องกันทุจริต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและ ความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม ในการต่อต้านการทุจริต

ท31101 ภาษาไทยพื้นฐาน
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองประเภทโคลงได้อย่างถูกต้องจับใจความสำคัญ  ตีความ  แปลความและขยายความ วิเคราะห์วิจารณ์ และตอบคำถามเขียนกรอบแนวคิดผังความคิด
เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความ และรายงานจากเรื่องที่อ่าน ย่อความ เรียงความ  
เขียนสื่อสาร  เขียนบรรยาย  อธิบาย  พรรณนาได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์มีข้อมูลและสาระสำคัญ รวมถึงมีมารยาทในการเขียนสรุปแนวคิด และแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ แนวคิด การใช้ภาษา
และความน่าเชื่อถือ ประเมินเรื่อง  มีวิจารณญาณนำไประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างมีเหตุผล 
จากเรื่องที่ฟัง ดู และพูด อธิบาย  ธรรมชาติของภาษาพลังของภาษา และลักษณะของภาษา ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยค ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาสกาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม  แต่งบทร้อยกรองประพันธ์ประเภทโคลงเห็นคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน 
ท่องจำบทอาขยานมีมารยาทในการอ่าน  การฟัง  การดู การพูดและการเขียน
        โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน กระบวนการคิด ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ
หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรอง พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์วิจารณ์  ประเมินค่า 
สรุปลักษณะเด่นและประเด็นสำคัญของวรรณคดีและวรรณกรรมฝึกฝนทักษะการฟัง  การพูด 
การเล่าเรื่อง และการแสดงความคิดเห็นตามเจตนารมณ์ที่ต้องการสื่อสาร สามารถนำความรู้ที่ได้รับ
ไปสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเห็นคุณค่าวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต  มีความภาคภูมิใจในวรรณคดีและวรรณกรรมอันเป็นมรดกของชาติ 

สามารถนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจและการดำเนินชีวิตประจำวัน  มีจิตสาธารณะ 
ตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม  และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  รักชาติศาสน์ กษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงานรักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ
ใช้ความรู้ภาษาไทยเพื่อการจรรโลงจิตใจ  ธำรงและพัฒนาสังคมได้เต็มศักยภาพของผู้เรียน
และการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเน้นความพอเพียงในระดับชุมชนเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

รหัสตัวชี้วัด
ท ๑.๑   ม.๔-๖/๑
,  ม.๔-๖/๒,  ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๔ , ม.๔-๖/๗ , ม.๔-๖/๘
ท ๒.๑   ม.๔-๖/๑
,  ม.๔-๖/๒,  ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๖ , ม.๔-๖/๗
ท ๓.๑   ม.๔-๖/๑
,   ม.๔-๖/๒,  ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๔ , ม.๔-๖/๕
ท ๔.๑   ม.๔-๖/๑
,ม.๔-๖/๒,ม.๔-๖/๓ ,ม.๔-๖/๔ ,ม.๔-๖/๕ ,ม.๔-๖/๖
ท ๕.๑   ม.๔-๖/๑
,  ม.๔-๖/๒, ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๔, ม.๔-๖/๕ , ม.๔-๖/๖
รวมทั้งหมด  ๒๘  ตัวชี้วัด


ค21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน 1
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ฝึกทักษะการแก้ปัญหา จำนวนตรรกยะจำนวนเต็ม สมบัติของจำนวนเต็ม ทศนิยมและเศษส่วน จำนวนตรรกยะและสมบัติของจำนวนตรรกยะ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม บวก การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะ และเลขยกกำลังไปใช้ในการแก้ปัญหา การสร้างทางเรขาคณิต การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต การสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติ โดยใช้การสร้างพื้นฐานทาง เรขาคณิต การนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตไปใช้ในชีวิตจริงเลขยกกำลัง ความหมายของ เลขยกกำลัง การคูณการหารเลขยกกำลัง สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ทศนิยมและเศษส่วน ทศนิยมและการ เปรียบเทียบทศนิยม การบวกการลบทศนิยม การคูณและการหารทศนิยม เศษส่วนและการเปรียบเทียบ เศษส่วน การบวกและการลบเศษส่วน การคูณและการหารเศษส่วน ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมกับเศษส่วน รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ ภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์

โดยนำความรู้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่างๆได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผลประกอบในการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ ต่างๆในคณิตศาสตร์และนำความรู้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆและมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถทำงานอย่างมีระบบระเบียบ รอบคอบ รับผิดชอบมี วิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริตมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็น ไทย มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

ค32101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน3
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

       ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ฝึกทักษะการแก้ปัญหา

    • เลขยกกำลัง รากที่ n ของจำนวนจริง เมื่อ n เป็น จำนวนนับที่มากกว่า 1 เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
    • ฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน (ฟังก์ชันเชิงเส้น ฟังก์ชันกำลังสอง ฟังก์ชันขั้นบันได ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล)
    • ลำดับและอนุกรม ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเรขาคณิต การประยุกต์ของลำดับและอนุกรม

       โดยนำความรู้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผลประกอบในการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน เชื่อมโยงความรู้  ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และนำความรู้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

       เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถทำงานอย่างมีระบบระเบียบ รอบคอบ รับผิดชอบมี วิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริตมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

ค32102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน4
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ฝึกทักษะการแก้ปัญหา ลำดับและอนุกรม ลำดับเลขคณิตและลำดับ เรขาคณิต อนุกรมเลขคณิตและอนุกรมเรขาคณิต ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ดอกเบี้ย มูลค่าของเงิน
ค่าราย งวด

โดยนำความรู้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่างๆได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผลประกอบในการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ ต่างๆในคณิตศาสตร์และนำความรู้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆและ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถทำงานอย่างมีระบบระเบียบ รอบคอบ รับผิดชอบมี วิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริตมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็น ไทย มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

ค33202 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 6
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ฝึกทักษะการแก้ปัญหา สถิติ การแจกแจงความน่าจะเป็นเบื้องต้น การ แจกแจงเอกรูป การแจกแจงทวินาม การแจกแจงปกติ

โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการ ปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้ เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำเสนอประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิดทักษะ กระบวนการ เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น และมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถทำงานอย่างมีระบบระเบียบ รอบคอบ รับผิดชอบมี วิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริตมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็น ไทย มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

ผลการเรียนรู้

1. หาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดจากตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงเอกรูปและนำไปใช้แก้ปัญหาได้

. หาความน่าจะเป็นของเผตุการณ์ที่เกิดจากตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงทวินามและนำไปใช้แก้ปัญหาได้

. หาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดจากตัวแปรสุ่มที่มีการแจกแจงปกติและนำไปใช้แก้ปัญหาได้